ประวัติความเป็นมา

ตำบลสามตำบลเป็นตำนานเล่าสืบทอดกันมาว่า ในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ได้มีการอพยพผู้คนลงมาทางใต้และได้มาตั้งที่พักอยู่ที่วัดวังฆ้องและในขณะนั้นได้มี หม่อมเณรใหญ่และหม่อมเณรน้อยเป็นผู้อพยพมาด้วยจึงได้ตั้งที่พักอยู่ที่คลองวังฆ้อง (วัดวังฆ้องปัจจุบัน) ในการอพยพมาครั้งนั้นได้มีผู้คนมาอยู่กันจำนวนมากจึงได้ออกไปหาที่ทำกินและตั้งที่ทำกินใหม่อีก คือวังใส (หมู่ที่ 1 ในปัจจุบัน) และอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ออกไปหาที่ทำกินและตั้งที่ทำกินใหม่อีกคือ
นาหมอบุญ (ต.นาหมอบุญปัจจุบัน) ขณะที่ผู้คนที่อพยพมาออกไปทำมาหากินในสถานที่ดังกล่าวแล้วในการประชุมหรือพบปะกันแต่ละครั้งก็ใช้ ฆ้องตี เป็นการบอกให้ราษฎรทุกพื้นที่มาประชุมพร้อมกัน และครั้งต่อมาเมื่อบ้านเมืองสงบลงราษฎรที่อพยพก็กลับไปอยู่ส่วนกลางตามเดิมซึ่งที่วังใสเลยเรียกว่า บ้านวังใส และที่วังฆ้องเรียกบ้านวังฆ้อง ที่นาหมอบุญเรียกว่า บ้านนาหมอบุญ ทั้งสามแห่งมารวมกันเลยเรียกว่า สามตำบล ต่อมาในปี พ.ศ.2537 ไมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่ได้มีการแยกตำบลใหม่โดยแยกตำบลนาหมอบุญออกจากตำบลสามตำบล

ปัจจุบันตำบลสามตำบลประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านหมู่ที่  1
ตามประวัติเล่าสู่กันมาว่าได้มีหม่อนเณรน้อยและหม่อนเณรใหญ่  (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของไชยพลบาลและตระกูลเณรานนท์)  ได้อพยพหนีพม่าในช่วงปี  พ.ศ.2310  ซึ่งได้เดินทางมาถึงเวลาค่ำจึงได้พักแรมที่ต้นไม้ใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อค้างคืนและหุงหาอาหารมื้อเย็นกินกัน  แต่ไม่สามารถหุงหาอาหารได้เพราะไม่มีน้ำ  จึงนอนพักกันโดยไม่ได้กินอะไร  แต่พอตกกลางคืนได้ยิยเสียงกบร้องจึงทำให้ทราบว่าบริเวณใกล้  ๆ  มีแหล่งน้ำและได้พักอาศัยบริเวณดังกล่าวเป็นการถาวร(ปัจจุบันคือ  บ้านวังฆ้อง)  และต่อมาหม่อนเณรน้อย  ซึ่งชำนาญในการรบและด้านการเกษตรจึงได้ย้ายมาตั้งเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ปัจจุบัน  เรียกว่า  "บ้านวังใสหรือบ้านเก่าไพนารถ"  ตั้งอยู่หมู่ที่  1  ซึ่งเป็นเหมืองหน้าด่านโดยมีสมภาณเจ้าบ้านเป็นหัวหน้าและอยู่ภายใต้การปกครองของหม่อนเณรน้อย  และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง  ซึ่งมีเทวดาวังใสเป็นที่เคารพสักการะบูชาในสมัยก่อนและถ้าหากว่าเกิดเรื่องภายในหมู่บ้านจะตัดสินโดยการสาบานให้  ฟ้าวังใส  ลงโทษ  ดังคำขวัญที่ว่า 
 " บ้านน่าอยู่      อู่นาข้าว   วังเจ้าพระยา      ฟ้าวังใส "

ทำเนียบผู้ปกครองท้องที่ปัจจุบัน
1.  นายธำรง  ศรีสุวรรณ                     ผู้ใหญ่บ้าน
2. นายสมโภชน์  หนูนารถ                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
3.  นางรัชฎาภรณ์  ศรีกลับ                 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
4. นายสุวิทย์ ศรีโรจน์                        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านหมู่ที่  2
 จากการเล่าต่อกันมา  บ้านคอพรุเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกต่อจากลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างพรุในกับพรุนอก  เป็นพื้นที่เนิน  เมื่อสมัยก่อนมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ย้ายถิ่นฐานเป็นที่ทำกินอยู่บนเนิน  ชาวบ้านเลยเรียกติดปากว่า  "  บ้านคอพรุ" ภายหลังพื้นที่พรุมีน้ำแห้งขอดและตื้นเขิน  ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย  ๆ
ปัจจุบันบ้านคอพรุ  ตั้งอยู่ในหมู่ที่  2  ตำบลสามตำบล  อำเภอจุฬาภรณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีเนื้อที่ประมาณ  3,250  ไร่

ทำเนียบผู้ปกครองท้องที่ปัจจุบัน
1.  นายจรายพงศ์  ศักดิ์ศรี             ผู้ใหญ่บ้าน
2.  นายสุชาติ  ชูเกิด                     ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
3.  นายอุดม  ขุนรัง                       ผู้ช้วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
4.  นายอำพร  ชูเกิด                     ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านหมู่ที่  3
     เมื่อปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า  ทำให้ประชาชนล้มตาย และพาลูกหลานหนีเป็นจำนวนมาก  ในจำนวนนี้มีทั้งเชื้อพระวงศ์และเจ้านายชั้นสูงที่หลบภัย เพื่อหวังกอบกู้พระนครคืนจากพม่าภายหลัง
    ในจำนวนนัั้นมีเชื้อพระวงศ์ 2 พระองค์ เป็นพี่น้องกัน ไม่ปรากฏพระนามและพระยสตามฐานานุศักดิ์  แต่ข้าทาสบริวารเรียกพระองค์ท่าน หม่อนเณรใหญ่ และหม่อมเณรน้อย แต่ละพระองค์ก็มีทายาท คือ
           -  หม่อมเณรใหญ่ มีโอรส 1 พระองค์  คือ หม่อมไพนารถ
- หม่อมเณรน้อย มีโอรส 2 พระองค์ คือ หม่อมบุญ หรือ หม่อมไพบูลย์และหม่อมชัยพลบาล
       หม่อมทั้งสองพร้อมด้วยพระโอรส และข้าทาสบริพารประมาณ 500 คนเศษ ได้อพยพมาทางภาคใต้ โดยใช้เส้นทางประวัติศาสตร์ คือ เส้นทางหุบเขาข่องคอย ซึ่งอยู่ห่างไม่ไกลนักจากวัดวังฆ้องประมาณ 25 กิโลเมตร โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 6 เดือน จนถึงวันหนึ่งตอนบ่ายแก่ ๆ หม่อมทั้งสองสั่งให้พักการเดินทางทำเพิงที่พัก  พวกข้าทาสบริพารก็ได้ผูกเพิงที่พัก  ที่ต้นมะขามกับต้นจันทน์(ปัจจุบันนี้ไม่มีภัยแล้ว แต่ยังมีพิกัดที่ต้นไม้ทั้งสองตั้งอยู่) ฝ่ายข้าทาสบริพารผู้หญิงก็จัดการตระเตรียมเรื่องอาหารสำหรับมื้อเย็น แต่ไม่มีน้ำสำหรับหุงข้าว สำรวจดูรอบๆ ก็ไม่เห็นเพราะเป็นป่าทึบ ก็คิดว่าน่าจะต้องอดอาหารสักมื้อ พอค่ำก็ได้ยินเสียงกง(เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีลักษณะคล้ายกบ แต่ใหญ่กว่า) ร้องขึ้นมาทางทิศใต้  หม่อมเณรจึงสั่งให้บ่าวจุดคบไม้ไผ่เดินตามเสียงไปดู เข้าไปป่าประมาณ 400 เมตร ก็พบลำธารใหญ่มีลึกใสสะอาด จึงตัดไม้ไผ่ทำเป็นกระแบกใส่นำ้มาหุงข้าวรับประทานกันในคืนนั้น  รุ่งเช้าหม่อมทั้งสองพร้อมด้วยข้าทาสบริพารที่รู้ลักษณะภูมิประเทศออกสำรวจพื้นที่ เห็นพ้องกันว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การตั้งที่พักได้เป็นอย่างดี หม่อมทั้งสองจึงได้สร้างบ้านที่พักอยู่  ณ ที่นี้ (วัดวังฆ้อง) พร้อมทั้งสั่งให้พระโอรสทั้ง 3 พระองค์ออกสำรวจพื้นที่  ดังนี้
             - หม่อมไพนารถ พาบ่าวไพร่ไปทางทิศอีสาน(บ้านวังใส ในปัจจุบัน) ได้พบพืื้นที่่ที่เหมาะสมจะสร้างเป็นบ้านและที่ทำกินได้ จึงตั้งถิ่นอยู่ที่นั้น พร้อมสั่งให้บ่าวไพร่เบิกที่่ทำนาอยู่ที่นั้น(ปัจจุบันชื่อ บ้านเก่าไพนารถ ม.1 ต.สามตำบล อ.จุฬาภรณ์)
- หม่อมบุญ หรือหม่อมไพบูลย์ พาบ่าวไพร่ไปทางทิศใต้ ได้พบที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่พักและที่ทำกิน (พื้นที่ บ้านในวัง ม.3 ต.นาหมอบุญ
ติดเขตอ.ชะอวด ในปัจจุบัน)
- หม่อมชัยพลบาล  พาบ่าวไพร่ไปทางทิศตะวันออก ได้พบพื้นที่สำหรับใช้เป็นทีีพักและที่ทำกินเป็นจำนวนมาก (ในพ้ื้นที่บ้านต้นเหรียง ในปัจจุบัน) ก็ได้ทำที่พักและที่ทำกินในที่นั้น ด้วยเหตุที่ว่าหม่อมชัยพลบาลเป็นโอรสองค์เล็ก จึงมีหน้าที่ดูแลหม่อมลุงและหม่อมพ่อด้วย จึงประจำอยู่กับหม่อมลุงและหม่อมพ่อเสียโดยส่วนมาก  พวกบ่าวไพร่และขาวบ้านทั่วไป  เรียกที่อยู่ของหม่อมทั้งสองและของพระโอรสว่า วัง โดยที่หม่อมทั้งสองได้ตกลงกับพระโอรส และข้าทาสบริพารได้ตกลงกันว่า เมื่อมีเรื่องราวที่ประชุมหรือตกลงกันจะใช้ฆ้องเป็นสัญญาณ  ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจีงเรียกว่า วังฆ้อง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมื่่อหม่อมทั้งสองถึงแก่อนิจกรรม พระโอรสทั้งสามจึงพร้อมใจกันถวายที่พักของหม่อมพ่อเป็นวัดในพระพุทธศาสนา  และให้ชื่อว่า วัดวังฆ้อง ตั้งแต่ปี 2341 ตลอดมาถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน
    ชุมชนอินทรีย์                คุณภาพชีวิตที่ดี
มั่งมีแหล่งเรียนรู้                สู่หลักเศรษฐกิจพอเพียง

ทำเนียบผู้ปกครองท้องที่ปัจจุบัน
1. นายสมพิน  วังบุญคง              ผู้ใหญ่บ้าน
2. นายปรีชา  เกื้อกูล                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
3. นายณรงค์  มะสุวรรณ             ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
4. นายปรีชา  เรืองรักษ์               ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านหมู่ที่  4
บ้านสำนักไม้เรียบ  เมื่อก่อนเป็นเส้นทางเดินไปทำงานสำหรับคนในตำบลสามตำบลเพื่อประกอบอาชีพบนเขา  ซึ่งเขานั้นปัจจุบันนี้เรียกว่า  "ควนดินและควนโตน"  แล้วเมื่อถึงเวลาเย็นเลิกงานเดินทางกลับจากสวนจะมาแวะที่หน้าโรงเรียนบ้านสำนักไม้เรียบ  ซึ่งมีหนองน้ำเรียบด้วยไม้ไผ่อยู่บริเวณดังกล่าว  ผู้คนก็พากันหยุดพัก  ดื่มน้ำ  ล้างหน้า  ก่อนจะเดินทางไปยังจุดหมาย
ในปี  พ.ศ.2520  ได้ก่อตั้งบ้านสำนักไม้เรียบ  โดยความอนุเคราะห์ที่ดินของชาวบ้าน  ในปี  พ.ศ.2537  ได้ก่อตั้งที่ว่าการอำเภอจุฬาภรณ์  ในพื้นที่หมู่ที่  4  ตำบลสามตำบล  และได้มีส่วนราชการอื่น ๆ  เข้ามาก่อตั้งอีกมากมาย
คนในสมัยก่อนจะเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า  "บ้านใสนกเยียก"  เพราะบริเวณดังกล่าวมีนกเยียกอยู่เป็นจำนวนมากเพราะเป็นที่อุดมสมบูรณ์  ถึงปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้า  จึงมีการเรียกกันติดปากว่า  "บ้านสำนักไม้เรียบ"  และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอีกมากมาย  จนกลายเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่  คือ  หมู่ที่ 4  ตำบลสามตำบล  อำเภอจุฬาภรณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทำเนียบการปกครองท้องที่ปัจจุบัน
1.  นายสนั่น  ศรีวิหค                   ผู้ใหญ่บ้าน
2.  นายวุฒิชัย วุฒิกรณ์                ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
3.  นางสาวศิริพร  ชูเกิด               ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
4.  นายวิเชียร  คงทอง                 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านหมู่ที่  5
 ตามประวัติความเป็นมาในอดีต  ก่อนที่จะตั้งหมู่บ้านมีชื่อเรียกกันอย่างติดปากว่า  บ้านสำนักขัน  ความหมายของคำว่าสำนักขัน  คือเมื่อก่อนมีคนเล่าต่อ  ๆ  กันมาว่า  มีเส้นทางที่ผู้คนเดินสัญจรผ่านไปผ่านมาอย่างมากมายและที่ตรงนี้มีต้นขันขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง  เมื่อผู้คนเดินทางมาถึงส่วนใหญ่จะพากันนั่งพัก  บ้างก็นอนก่อนก็นอนก่อนจะเดินทางไปยังจุดหมาย
หลังจากนั้น  ได้มีการปกครองแบบตำบลและหมู่บ้าน หมู่ที่  5  เดิมเป็นหมู่ที่  7  เวลาต่อมาทางหน่วยงานราชการเห็นว่า  หมู่ที่  7  เป็นหมู่บ้านที่มีขนาดเล็กเกินไป  จึงยุบรวมหมู่ที่  7  เข้ากับหมู่ที่  6  ตำบลร่อนพิบูลย์  อำเภอร่อนพิบูลย์  เป็นหมู่ที่  5  ตำบลสามตำบล  อำเภอจุฬาภรณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ทำเนียบการปกครองท้องที่ปัจจุบัน
1.  นายเชต  ยอดระบำ                       กำนัน
2.  นายธีรวัฒน์  เรืองชรักษ์                ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
3.  นายสุรชัย สงขำ                           ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
4.  นายสุวิทย์  ทองชู                        ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
5.  นายสายัณห์ เด่่นดวง                    สารวัตรกำนัน

ประวัติความเป็นมา หมู่ที่ 6
 ประวัติการเข้ามาทำกินและอยู่อาศัยของชาวบ้านในพื้นที่บ้านควนโตน จากการสอบถามข้อมูลจากผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านได้แก่ คุณตาสร้วง อนุพงศ์ คุณตาฉาย เกิดศิริ และคุณยายรุ่ง รอดภัย ได้ความว่า ช่วงปี พ.ศ. 2505 ได้มีชาวบ้านจากหมู่บ้านใกล้เคียงในพื้นที่ราบบ้านวังใส บ้านคอพรุ และหมู่บ้านอื่น ๆ เร่ิมทยอยเข้ามาถางป่าทำไร่ ปลูกผักสวนครัว เช่น พริก ขมื่น และทำสวนผลไม้ เช่น ทุกเรียน ลางสาด มังคุด ยางพารา ซึ่งในตอนนั้นชาวบ้านที่เข้ามาใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูกผักสวนครัว และทำสวนผลไม้เท่านั้น ไม่ได้มาอยู่อาศัยและทำมาหากินอย่างถาวร ต่อมาเม่ื่อปี พ.ศ. 2508 เร่ิมมีการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และในขณะนั้นพี่น้องที่เข้ามาทำมาหากิน บางส่วนเข้าร่วมกับขบวนการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเมืื่อปี 2515 ได้มีการต่อสู้กับภาครัฐด้วยกองกำลังอาวุธของทหารปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผลทำให้ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนเสียชีวิต  และบางส่วนถูกจับกุมในปี 2523 ชาวบ้านส่วนที่เหลือ ทางรัฐบาลได้มีนโยบายที่เรียกว่า "66/2523 " เป็นนโยบายเพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ทำให้ชาวบ้านบางส่วนที่ร่วมขบวนการกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยออกมารายงานตัวกับทางการ เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ในปี 2527 รัฐบาลมีนโยบายเพื่อเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามทางการค้า โดยการให้มีการสัมปทานป่าไม้ ในเขตพื้นที่ป่า ทำให้ป่าเปลี่ยนสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมและหลังจากนั้นมีชาวบ้านจำนวนมากเข้าไปใช้ประโยชน์โดยทำมาหากินและสร้างถ่ินฐานการอยู่อาศัยกันอย่างถาวร จากนั้นได้มีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มมีการ สร้างถนนหนทาง ไฟฟ้า สถานศึกษา และส่่ิงอำนวยความสะดวกอื่น และในปี 2532 ได้มีการเจรจาเพื่่อยุติการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์ จนเหตุการณ์ความรุนแรงได้ยุติลงในปี 2535 ภายใต้โครงการ ดับไฟใต้ จากนั้นชาวบ้านก็สร้างถ่ินฐานการประกอบอาชีพ และที่อยู่อาศัยถาวรกลาย เป็นชุมชน บ้านควนโตน ที่อยู่กันมา ชั่วลูกหลาน

      บ้านควนโตน เมื่อก่อนตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านสำนักไม้เรียบ ตำบลสามตำบล  อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2554 คณะกรรมการหมู่บ้านสำนักไม้เรียบเห็นว่าเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้ประชาคมราษฎรในหมู่บ้านทำโครงการเสนอกรมการปกครองเพื่อแยกหมู่่บ้านขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่ "บ้านควนโตน" และได้รับการอนุมัติประกาศเป็นหมู่บ้านใหม่ "บ้านควนโตน" เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 และได้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน

  คำขวัญหมู่บ้าน
                                   " พื้นที่ต้นน้ำ   งามยางพารา   ทิวทัศน์งามตา   ลือชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ "

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

ทำเนียบการปกครองท้องที่ปัจจุบัน
1. นายเกษม  บุญสุวรรณ                   ผู้ใหญ่บ้าน
2. นางวันเพ็ญ  รักประทุม                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
3. นายสุชาติ  ชูเกิด                          ผู้ช่้วยผู้ใหญ่บ้นฝ่ายรักษาความสงบ